คอนเทนต์ (Content)

รู้กันหรือไม่ว่าคอนเทนต์คืออะไร สร้างคอนเท้นต์แบบไหน ให้ถูกใจผู้อ่าน

คอนเทนต์คืออะไร
คอนเทนต์ หรือ Content คือ ข้อมูลเนื้อหาที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับแบรนด์ ธุรกิจ รายละเอียดสินค้าบริการ ประสบการณ์ หรือการอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านตัวอักษร รูปภาพ อินโฟกราฟิก เสียง หรือวิดีโอ ปัจจุบันถือเป็นสิ่งที่สำคัญในทำการตลาดการขายออนไลน์ อย่างมากเนื่องจากคนส่วนใหญ่อยู่ในโลกออนไลน์และเสพคอนเทนต์ในนั้นเป็นจำนวนมาก
การสร้างคอนเทนต์ก็เหมือนกับเราหาโอกาส ในการสื่อสารกับผู้อ่านหรือผู้บริโภค ที่นำไปสู่เป้าหมายที่เราต้องการ เช่น รู้จักสินค้าเรามากขึ้น รู้จักองค์กร หรือนำไปสู่การซื้อสินค้าและบริการ โดยผ่านช่องทางการสื่อสารคอนเทนต์ที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย
ตัวอย่างเช่น เราจะทำ Facebook เราก็ต้องมีเนื้อหาที่ต้องการจะโพสต์ขึ้นไป เพื่อทำให้คนเห็น ทักและติดตาม หรือจะทำ Google ก็ต้องมีคอนเทนต์ให้ผู้อ่านหรือผู้บริโภครู้จักเรามากขึ้น ทำ Youtube ก็ต้องมีคอนเทนต์วิดีโอ เพื่อให้เกิดการไลค์วิดีโอ หรือการกดติดตามช่อง Youtube เป็นต้น

คอนเทนต์มีกี่ประเภท
คอนเทนต์มีหลายประเภท ทั้งรูปภาพ วิดีโอ เสียง การเขียนหรือตัวอักษร ซึ่งคอนเทนต์แต่ละประเภทก็จะมีหน้าที่ ที่แตกต่างกัน เช่น
คอนเทนต์ให้ความรู้ (Educate) : เป็นคอนเทนต์มีไว้ให้ความรู้ บอกเล่าสาระความรู้ให้กับผู้อ่าน โดยเป้าหมาย คือการสร้างการรับรู้และสร้างความน่าเชื่อถือ
คอนเทนต์ขายของ (Sales & Marketing) : เป้าหมายหลักคือทำให้เกิดการซื้อขาย สร้างรายได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เป็นที่ต้อวการมากในองค์กร ธุรกิจต่าง ๆ
คอนเทนต์ให้ความบันเทิง (Entertainment) :สร้างขึ้นมาเพื่อให้เกิดการติดตาม ผูกพัน หรือบอกต่อ ทำให้ผู้อ่านหรือผู้บริโภคจะอยู่กับเรานานขึ้น

คอนเทนต์ประเภทโน้มน้าวใจ (Convince) : เพื่อทำให้การโน้มน้าว คล้อยตาม ช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
คอนเทนต์ประเภทสร้างแรงบันดาลใจ (Inspire) : โดยมากจะเชื่อมโยงถึงความเชื่อ ประทับใจ ชื่นชม มองเห็นโอกาส นิยมใช้ในการสร้างแบรนด์ สร้างภาพลักษณ์องค์กรในทิศทางที่ดี ให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

ส่วนคอนเทนต์ประเภทไหนจะตรงจุด ตรงใจผู้อ่านหรือผู้บริโภค ก็ต้องอาศัยศาสตร์และศิลป์ในการสร้างคอนเทนต์ขึ้นมา ด้วยการพยายามคิดวิเคราะห์ว่าทำอย่างไรคอนเทนต์ถึงจะน่าสนใจ ทำอย่างไรให้คนชอบ รวมถึงทำอย่างไรให้เราสามารถสร้างคอนเทนต์ออกมาได้เร็ว ทันกระแส ทันเหตุการณ์ ผู้เขียนจึงต้องรู้กลยุทธ์ในการเขียน