บทความดีๆ เกี่ยวกับเรื่องมารยาทการแสดงออกบนโลกออนไลน์

เนื่องจากแชร์ไม่ได้ผมจึงขอกอปมาวางนะครับเป็นบทความที่เขียนไว้ดีมากๆ

และทรงคุณค่ามากเลยอยากนำมาแบ่งปันต่อ

เขียนโดยคุณศรัน วิศวกรซอฟต์แวร์คนไทย ที่ทำงานในอเมริกากว่า 20 ปี

เนื้อหามีดังนี้…

ขออนุญาตแสดงความเห็นใน ดราม่าที่เกิดใน Facbook Group ที่เกี่ยวกับ การพัฒนา software กลุ่มหนึ่ง จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ปัญหาแรกดูเหมือนว่ามาจากการปะทะคารมระหว่าง สมาชิกใน group และ admin group กลุ่มนั้นโดยปะทะคารมผ่าน post และ comments ในกลุ่ม

โดยการปะทะคารม เป็นเรื่องของการแสดงความเห็นต่าง ในเรื่องๆหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการใช้คำจำกัดความ และ ปัญหาที่ 2 คือ การไป comments ผสมโรง ในเชิงอบรมสั่งสอน ตัว admin group กลุ่มนั้นในเรื่องหนังสือเล่มหนึ่ง ที่เกี่ยวกับ การเขียนโปรแกรม ที่แต่งขึ้นโดย admin group กลุ่มนั้น

โดยเหตุการณ์เกิดขึ้นมาสักพักใหญ่แล้ว ( ผ่านมาหลายวันแล้ว ) ส่วนตัวผมแล้ว การมีความเห็นต่างไม่ใช่เรื่องผิดครับ และ การไม่ยอมรับความเห็นต่างก็ไม่ใช่เรื่องผิดเช่นกัน เพราะทั้ง 2 อย่างเป็นสิทธิส่วนบุคคล

แต่เมื่อใดก็ตาม ที่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพยายาม ยัดเยียดความคิดของตัวเอง ( ถึงแม้จะถูกต้องก็ตาม ) ให้อีกฝ่ายหนึ่งเปลี่ยนและยอมรับในความคิดของตัวเอง นั้นคือการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ถือเป็นการเสียมารยาทอย่างมาก

การที่เรามีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องกว่าคนอื่น ไม่ได้เป็นเหตุผลที่ทำให้เรามี สิทธิพิเศษ หรือมี อภิสิทธิ์ ในการไปอบรมสั่งสอนผู้อื่นนะครับ เราทำได้อย่างมาก แค่แนะนำเท่านั้นเอง และ การให้คำแนะนำผู้อื่น ต้องมีขอบเขตด้วย

ต้องไม่ข้ามเส้นไปถึง ขั้นของการ อบรมสั่งสอน เพราะ การอบรมสั่งสอน หรือ การสอนนั้น จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อ เป็นลูกหลานของเรา เป็นลูกศิษย์ของเรา เป็นเพื่อนของเรา ( friend ใน Face ก็ ok ครับ ) เป็นญาติพี่น้องของเรา หรือ เป็นคนที่เรารู้จักมักคุ้น เพียงเท่านั้น

นอกเหนือจากนี้ ถือเป็นคนที่เราไม่มีสิทธิ ไปสอนนะครับ ทำได้อย่างมากสุดคือ ให้คำแนะนำเท่านั้น แต่อย่างกรณี ดราม่า ที่เกิด ช่วงที่ผ่านมา เกิดขึ้นเพราะมีการข้ามเส้น ระหว่าง “ให้คำแนะนำ” กับ “สอน” โดยทั้ง 2 คน ทั้ง คุณ เอ ( นามสมมุติ ) และ คุณ เอ็ม ( นามสมมุติ) ต่างพยายาม ยัดเยียดความคิด ของตัวเอง ในลักษณะของ การอบรมสั่งสอน ( ข้ามเส้นของคำแนะนำ )ให้ กับ admin group ท่านหนึ่งที่ ไม่ยินดียอมรับความเห็นต่างนั้น ผ่าน การ commented ในลักษณะไล่บี้ฉีกหน้าอีกคนจนติดฝา ทั้งๆทีไม่เคยรู้จักกันเป็นการส่วน ตัวมาก่อน หรือ แม้กระทั่ง ยังไม่ได้เป็น friend กันใน Facebook เลยด้วยซ้ำ

หากคิดจะติเพื่อก่อจริงๆ ทำแค่ 1 comment ก็พอแล้วครับ หรือ ส่งผ่าน message box ก็ได้ครับ ความสัมพันธ์ของคนใน Facebook Group หากไม่ได้มี connection เป็น friend กันใน Face แล้ว ถือ เป็นความสัมพันธ์ระดับของคนที่ไม่ได้รู้จักกันนะครับเป็น ภาพเหมือนกลุ่มคนไปนั่งดูการแข่งฟุตบอลที่อัฒจรรย์ เชียร์ทีมเดียวกันแค่นั้นเอง

ดังนั้นเราควรต้องระวังนะครับที่จะไม่เอาความเคยชินในการวิพากษ์วิจารณ์ ที่เราใช้กับบุคคลสาธารณะ เช่น นักการเมือง , ดารา หรือ influencers ทีมีผู้ติดตามหลายแสนคนถึงหลักล้าน นำเอามาใช้กับ บุคคลธรรมดาทั่วไป

ต้องแยกแยะให้ดีนะครับ ส่วนกรณีเรื่องของ กฎ ใน Facebook Group กฎใน FB Group ไม่เหมือนกฏมารยาททั่วไปในสังคม เพราะ กฎถูกตั้งขึ้นตามที่ผู้สร้าง group หรือ admin group เห็นสมควร

และกฎเหล่านั้น ถือว่าเป็นกฎที่มีความถูกต้องชอบธรรม ตราบเท่าที่กฎเหล่านั้น ไม้ผิดกฎของ บริษัท Facebook และ ไม่ผิดกฎหมายบ้านเมืองที่ผู้สร้าง group พำนักอาศัยอยู่ ผู้สร้าง group ทุกคนมีอำนาจเด็ดขาด 100% เหนือ group ที่เขาสร้างขึ้น ผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าผู้สร้าง group

มีเพียงบริษัท Facebook เท่านั้น ดังนั้นถ้า admin group บางคนจะไม่ใช้กฎมารยาททั่วไปในสังคม เลย ภายใน group นั้น เราก็ไม่สามารถ โวยวาย , ดราม่า หรือ เรียกร้องอะไรได้เลยนะครับ แม้เราจะรู้สึกว่า admin group คนนั้นอาจทำอะไรน่าเกลียดสุดๆก็ตาม

แต่ ถ้ามี admin group ที่ปฎิบัติตาม กฎมารยาททั่วไปในสังคมด้วย นั้นเป็นเรื่องที่เราต้องยินดีครับ

เพราะถือเป็นนำ้ใจพิเศษที่เราได้รับ จาก admin group ใน group นั้นส่านกรณี 2 ปัญหาทีเกิดขึ้น จนท้ายที่สุด มีการเตะ 2 บุคคล ออกจากกลุ่มไปนั้น ผมคิดว่า เป็นเรื่องธรรมดาปกติมากๆ

ผมจะขอยกตัวอย่าง แบบนี้ว่า การว่าจ้างงาน ของบริษัทหรือองค์กรใน สหรัฐอเมริกา ก่อนเข้าทำงาน บริษัทส่วนใหญ่จะให้ผู้ถูกว่าจ้าง เซ็นชื่อ ยอมรับ agreement ที่เรียกว่า “At-will employment” คือบริษัทมีสิทธิที่จะ terminate เราให้พ้นสภาพพนักงานเมื่อไหร่ก็ได้

โดยที่ไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า หรือ อธิบายถึงสาเหตุของการ เลิกว่าจ้าง ตัว Facebook Group เองก็มีความคล้าย บริษัทเหล่านี้ แต่แค่ต่างกันคือ Facebook Group ไม่มีการจ่ายเงินเดือนแบบ บริษัทเหล่านี้เท่านั้นเอง

ดังนั้นหากเราทำความเข้าใจสภาพแท้จริงของโลกจริงๆว่าเป็นอย่างไร เราก็จะไม่ไป โวยวาย , เรียกร้อง หรือ ก่อ ดราม่า อะไรทั้งนั้น เพราะพฤติกรรม เหล่านี้ คืออาการ ของผู้ที่ขาดวุฒิภาวะ นะครับ ดังนั้นให้เรา หนักแน่นมั่นคง และแสดงออกถึงความเป็นผู้มี วุฒิภาวะ จะดีกว่า

ผมทำงานใน New York ตั้งแต่ปี 2001 มาจนบัดนี้ ก็ เข้าปีที่ 21 แล้ว เคยมีประสบการณ์ การถูก lay off จากงาน ถึง 4 ครั้ง ในช่วง 10 ปีแรกของการทำงาน ดังนั้นไม่ต้องห่วงหรอกครับว่า ผมจะไม่เข้าใจ ความรู้สึก ของคนที่ โดนเตะ ออกจากกลุ่มทั้ง 2 คนนั้น

ความเห็นของผมที่แสดงออกมาทั้งหมดนี้ เป็นเพียงแค่มุมมอง จากประสบการณ์ของผม ผมไม่ได้บอกว่า มันถูกต้องทั้งหมด ดั้งนั้น ใครก็ตามที่อ่านความเห็นนี้แล้ว ผมก็หวังว่าจะไม่มีใครเอาไป ดราม่า ต่อที่ไหนอีก

ขอเป็นกำลังใจให้นักพัฒนา software ไทยทุกคนนะครับ ที่สร้างสรรค์ผลงานต่างๆออกมา ร่วมถึงทรัพยากรด้านการศึกษา ด้านการเขียน program ต่างๆ ด้วย 🙂God Bless

Sarun

#วาทะ_by_Sarun